วันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มรดกโลกของไทย


ภาพเขียนบนผนังถ้ำ โครงกระดูก เครื่องมือ เครื่องใช้ หรือเครื่องประดับของมนุษย์ในสมัย ก่อนที่จะถูกค้นพบศาสนสถาน และสภาพที่อยู่อาศัยภายในถ้ำ หรือเพิงผา หรือแม้กระทั่งซากพืชและเมล็ดพืช คือหลักฐานสำคัญที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทยในปัจจุบันเคยเป็นแหล่งอารยธรรมที่สำคัญของมนุษยชาติอีกแหล่งหนึ่งมาตั้งแต่ ครั้งอดีตกาลนานนับหมื่นปี ตลอดระยะเวลาอันยาวนานดังกล่าวบรรพบุรุษคนไทยได้ตั้งถิ่นฐานอยู่และได้มีการก่อตั้งอาณาจักรขึ้นหลายอาณาจักร ซึ่งมีรูปแบบของอารยธรรมที่แตกต่างกันในภูมิภาคต่างๆของประเทศ ไม่ว่าจะเป็นอารยธรรมทวารวดี ศรีวิชัย ลพบุรี ล้านนา สุโขทัย หรืออยุธยา โบราณสถานและโบราณวัตถุต่างๆ เช่น ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินเขาพนมรุ้ง พระธาตุพนม เทวรูปพระวิษณุสกุลช่างสุโขทัย หรือเจดีย์วัดพระศรีสรรเพชญ์ สิ่งเหล่านี้คือประจักษ์พยานแห่งความรุ่งเรือง และความมั่งคั่งของอารยธรรมไทย



ในขณะเดียวกันด้วยสภาพภูมิประเทศที่ประกอบด้วย เกาะ แก่ง โขดหิน เชิงผา ภูเขา ป่าไม้ ฯลฯ ประกอบกับที่ตั้งของประเทศไทยอยู่ในเขตภูมิอากาศร้อนชื้น จึงทำให้ประเทศของเรามั่งคั่งไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติที่มีลักษณะเฉพาะตัว เช่น ป่าไม้เขตร้อนของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่ ห้วยขาแข้ง และป่าดึกดำบรรพ์ของอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ที่มีคุณค่าในความหลากหหลายทางชีวภาพและความงามตามธรรมชาติ สีเขียวมรกตของนำทะเลที่อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะสุรินทร์ แนวปะการังที่งดงามและอุดมสมบูรณ์ ติดอันดับ 1 ใน 10 ของโลกที่อุทยานเห่งชาติหมู่เกาะสิมิลัน เป็นต้น ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมและธรรมชาติอันทรงคุณค่าของประเทศไทย ที่บรรพบุรุษของเราได้สร้างสรรค์รักษาและสืบทอดไว้ให้เป็นมรดกของลูกหลานชาวไทย

ในปีพุทธศักราช 2534 และ 2535 คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ได้ประกาศให้แหล่งมรดกโลก ทางวัฒนธรรมและธรรมชาติของไทยจำนวน 4 แหล่งคือ อุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย-ศรีสัชนาลัย-กำแพงเพชร| อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา| แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง และ เขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่-ห้วยขาแข้ง บรรจุอยู่ในบัญชีรายชื่อแหล่งมรดกโลก อันนำมาซึ่งชื่อเสียง เกียรติภูมิ และศักดิ์ศรีของประเทศชาติเป็นอย่างยิ่ง

http://www.geocities.com/thaiherritage

แหล่งที่มาจาก www.google.com